Hysteroscopy คือ

นวัตกรรมการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก – Hysteroscopy คือ การตรวจความผิดปกติภายในมดลูก ซึ่งคุณผู้หญิงหลายๆท่านอาจไม่เคยส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกมาก่อน แต่ยังไม่ทราบว่าการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกมีข้อดีข่อเสียอย่างไหร่ แล้วต้องเตรียมตัวอย่างไรเมื่ออยากเข้าไปตรวจโพรงมดลูก หากตรวจเจอความผิดปกติต้องรักษาอย่างไรต่อไป

Table of Contents

การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก (Hysteroscopy)

การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก หรือ Hysteroscopy คือ การตรวจโดยใช้กล้องเล็กๆ สอดเข้าทางปากมดลูก ซึ่งสามารถเห็นความผิดปกติภายในโพรงมดลูก ผ่านหน้าจอแสดงผล ในกรณีที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติ ตรวจร่างกายตามปกติ การอัลตราซาวด์ และการเอกซเรย์ เช่น มีประจำเดือนผิดปกติ มีติ่งเนื้อหรือเนื้องอกเล็กๆ ในโพรงมดลูก พังผืด ความผิดปกติของรูปร่างของมดลูก มีเลือดออกทางช่องคลอดในวัยหมดระดู และวินิจฉัยภาวะมีบุตรยาก เป็นต้น

เป็นโรคในระบบสืบพันธุ์ อยากมีลูก อยากตั้งครรภ์ ปรึกษาแพทย์ฟรี คลิก

ประเภทของการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก

ประเภทของการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก

การส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อตรวจวินิจฉัย (Diagnostic Hysteroscopy)

การส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อตรวจวินิจฉัยจะใช้เพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในโพรงมดลูก สำหรับผู้หญิงที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ ทางช่องคลอด หรือผู้หญิงที่มีปัญหาการแท้งซ้ำซาก (Recurrent Miscarriage) และในกรณีที่ไม่สามารถอธิบายได้จากการตรวจพื้นฐาน ได้แก่ การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง (Ultrasound) หรือการฉีดสีประเมินสภาพภายในโพรงมดลูก (Hysterosalpingogram)

การส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อการรักษา (Operative hysteroscopy)

การส่องกล้องโพรงมดลูกเพื่อรักษาจะใช้ในกรณีที่ทราบว่ามีความผิดปกติภายในโพรงมดลูก และต้องการรักษาสาเหตุนั้นๆ เช่น

  • ตัดติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้อในโพรงมดลูก
  • ช่วยสุ่มตรวจชิ้นเนื้อ
  • ตัดพังผืดภายในโพรงมดลูก ที่อาจจะเกิดจากการติดเชื้อ หรือแผลเป็นมาก่อน
  • ใช้เพื่อทำหมันสตรี
  • ใช้ช่วยในการเอาห่วงคุมกำเนิดออก กรณีเอาออกยาก
  • ใช้ร่วมกับจี้ไฟฟ้าในการทำลายเนื้อเยื่อของโพรงมดลูก กรณีมีประจำเดือนมามาก

ข้อดี – ข้อจำกัดการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก

ข้อดีการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก

  • แผลผ่าตัดจะเป็นแผลขนาดเล็ก ไม่เป็นแผลเป็นที่หน้าท้อง
  • เนื่องจากแผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ความเจ็บปวดหลังผ่าตัดจะมีน้อย
  • ลดการเกิดอาการการแทรกซ้อน และพังผืด
  • พักฟื้นหลังผ่าตัดได้ไว ไม่เสียเวลา
  • แพทย์สามารถเห็นภาพความผิดปกติได้อย่างชัดเจน
  • มีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนน้อยกว่าการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกแบบปกติ

ข้อจำกัดการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก

  • ผู้ที่มีพังผืดมากในอุ้งเชิงกราน
  • เนื้องอกมดลูกที่มีขนาดใหญ่มาก
  • ผู้ที่เคยผ่าตัดทางหน้าท้อง

ใครที่ควรเข้ารับการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก

  • ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ที่มีประจำเดือนออกผิดปกติ
  • ผู้หญิงที่ตรวจอัลตราซาวน์มดลูกแล้วพบว่ามีเนื้องอกหรือมีติ่งเนื้อภายในโพรงมดลูก
  • ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนแต่มีเลือดออกจากโพรงมดลูก
  • ผู้หญิงที่มีมดลูกผิดปกติ เช่น มีผนังกั้นในโพรงมดลูก (Septate uterus)
  • ผู้หญิงที่มีภาวะแท้งบุตรซ้ำตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
  • ผู้หญิงที่มีบุตรยาก
  • ผู้หญิงที่มีประวัติมีประจำเดือนมาน้อยมากหรือประจำเดือนขาด
  • ผู้หญิงที่ใส่ห่วงอนามัยมานานและไม่สามารถดึงสายห่วงออกได้ตามปกติ
  • ผู้หญิงที่มีประจำเดือนออกมาก 
  • ผู้หญิงที่ไม่ตั้งครรภ์หลังจากแท้งบุตรและมีการขูดมดลูก
  • ผู้หญิงที่ปวดประจำเดือนรุนแรงร่วมกับสงสัยว่ามีพยาธิสภาพในโพรงมดลูก
  • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่สำเร็จจากการทำเด็กหลอดแก้ว และย้ายตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีไปแล้วตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป
เป็นโรคในระบบสืบพันธุ์ อยากมีลูก อยากตั้งครรภ์ ปรึกษาแพทย์ฟรี คลิก

ผู้ที่ไม่เหมาะกับการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก

ผู้ที่ไม่เหมาะกับการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก

การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก ไม่เหมาะสมกับ

  • ผู้ที่กำลังมีประจำเดือน
  • ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีการอักเสบในอุ้งเชิงกรานหรือท่อนำไข่

การส่องกล้องโพรงมดลูกช่วยวินิจฉัยโรคอะไรได้บ้าง

การส่องกล้องโพรงมด
  • มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก
  • มีภาวะที่สงสัยว่ามีติ่งเนื้อในโพรงมดลูก หรือเนื้องอกโพรงมดลูกที่ตรวจจากวิธีอื่น เช่น การตรวจอัลตร้าซาวน์
  • คนที่สงสัยว่าอาจจะมีความเสี่ยงมะเร็งโพรงมดลูก เช่น มีภาวะเยื่อบุมดลูกหนาตัว หรือว่ามีเลือดออกผิดปกติในช่วงวัยทอง
  • ในผู้ป่วยที่มีบุตรยาก สงสัยว่าเกิดจากภาวะผิดปกติในโพรงมดลูก

การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก

เพื่อให้การผ่าตัดมดลูกแบบผ่านกล้อง ประสบความสำเร็จในการผ่าตัด ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นในระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด ควรมีการเตรียมตัวดังนี้

  1. แพทย์จะสอบถามประวัติ ตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การเจาะเลือด นอกจากนั้นจะมีการเอ็กซเรย์ที่ปอด บางรายอาจตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อประเมินภาวะสุขภาพพื้นฐาน ว่ามีความเสี่ยงในการผ่าตัดมากน้อยเพียงใด ถ้าผลการตรวจร่างกาย ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ มีความผิดปกติอาจต้องให้แพทย์เชี่ยวชาญทางด้านอายุรกรรมช่วยดูและประเมินร่างกายก่อนการผ่าตัด
  2. ส่งปรึกษาวิสัญญีแพทย์ เพื่อประเมินความพร้อมในการให้ยาระงับความรู้สึกในระหว่างการผ่าตัด
  3. ต้องงดน้ำและอาหาร อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
  4. อาจต้องมีการสวนอุจจาระ และโกนขนบริเวณหัวหน่าวก่อนผ่าตัด 2 ชั่วโมง
  5. งดดื่มสุราหรือสูบบุหรี่ ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
  6. หากรับประทานยาละลายลิ่มเลือด ต้องงดยาก่อนอย่างน้อย 7 วัน

ขั้นตอนการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก

ขั้นตอนการส่องกล้อง

ขั้นตอนการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกเพื่อวินิจฉัย

การตรวจจะคล้ายคลึงกับการตรวจภายใน โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยขึ้นนอนที่ขาหยั่งเหมือนตรวจภายใน ใส่อุปกรณ์เพื่อให้เห็นปากมดลูก หลังจากนั้นแพทย์จะค่อยๆ ส่องกล้องขนาดเล็กผ่านปากมดลูกเข้าไปยังโพรงมดลูก เพื่อให้เห็นความผิดปกติภายในโพรงมดลูก โดยการตรวจจะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที ในบางรายที่พบความผิดปกติ แพทย์อาจตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา และวางแผนการรักษาต่อไป อาจใช้ระยะเวลาตรวจที่นานขึ้นได้

ซึ่งวิธีการตรวจวินิจฉัยนี้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติในโพรงมดลูก เช่น สงสัยว่ามีติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้องอก มีเลือดออกผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ วินิจฉัยและค้นหาสาเหตุภาวะมีบุตรยากสำหรับผู้ที่ทำเด็กหลอดแก้ว แพทย์อาจตรวจโพรงมดลูกก่อนที่จะนำตัวอ่อนเข้าไปฝัง เพื่อให้แน่ใจว่าสภาพโพรงมดลูกไม่มีความผิดปกติที่ขัดขวางโอกาสการฝังตัวของตัวอ่อน

โดยปกติทั่วไป ภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงจากการตรวจส่องกล้องโพรงมดลูกนั้น พบได้น้อยมาก แต่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การอักเสบติดเชื้อ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรือท่อนำไข่อยู่แล้ว รวมถึงอาการปวดท้องน้อย ซึ่งสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ หลังจากการตรวจส่องกล้องโพรงมดลูก ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติหลังการตรวจ แต่แนะนำให้งดการมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 3-5 วัน

ขั้นตอนการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูกเพื่อรักษา

  • การเตรียมปากมดลูกให้พร้อมสำหรับการถ่างขยายเพื่อสอดกล้อง เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญมาก เนื่องจากปากมดลูกของสตรีโดยทั่วไปจะมีลักษณะแข็งและเหนียว การพยายามถ่างขยายปากมดลูก โดยที่ ไม่ได้เตรียมปากมดลูกให้ดีพอ มีโอกาสที่จะทำให้เกิดมดลูกทะลุได้
  • ก่อนเริ่มการผ่าตัดแพทย์จะให้ยาระงับปวดเฉพาะที่ หรือยาสลบ ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการผ่าตัด
  • การขยายปากมดลูกเพื่อทำการสอดกล้องเข้าไปสำรวจหารอยโรคภายในโพรงมดลูก
  • หลังจากยืนยันรอยโรคแล้ว แพทย์จะใส่เครื่องมือเข้าไปตัดชิ้นเนื้อ หรือสลายพังผืดในโพรง มดลูก และเอาชิ้นเนื้อออกมาส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป

ข้อปฏิบัติหลังการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก

ข้อห้ามหลังการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก

  • งดมีเพศสัมพันธ์
  • งดว่ายน้ำ แช่น้ำ 
  • งดสวนล้างช่องคลอด
  • งดใช้ผ้าอนามัยแบบสอด อย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะยังอยู่ในภาวะเสี่ยงติดเชื้อ

การดูแลตนเองหลังจากส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก

  • การมีเลือดออกเล็กน้อยทางช่องคลอดหลังผ่าตัด/ส่องกล้องฯ ถือเป็นเรื่องปกติ บางครั้งอาจเห็นเศษเนื้อจากที่ทำการผ่าตัดที่ค้างในโพรงมดลูกหลุดออกมาด้วย ซึ่งอาจมีเลือดออกมาได้นาน ประมาณ 5-7 วันหลังการตรวจ
  • อาจมีอาการปวดหน่วงบริเวณมดลูก ซึ่งสามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล ได้

ข้อสรุป

ก็คงจะได้ทราบกันไปแล้วว่าการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก Hysteroscopy คือ การตรวจภายในที่ค่อนข้างจะละเอียดอ่อน ซึ่งไม่ควรแค่ศึกษาข้อมูลและตัดสินใจทำได้เลย แต่ควรมาพบแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยเบื่องต้นก่อนว่าเหมาะสมที่จะทำหรือไม่ แพทย์จะแนะนำและให้ข้อมูลได้แม่นยำกว่าการอ่านในอินเตอร์เน็ต เพราะแต่ละบุคคลจะมีวิธีการรักษาและการดูแลตนเองที่ต่างกันออกไป ทั้งนี้หากคุณผู้หญิงท่านใดมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @beyondivf