อาการเลือดออกทางช่องคลอดในผู้หญิงนอกจากที่เรียกว่า อาการของประจำเดือน แต่ในบางกรณีที่มีเลือดออกทางช่องคลอดที่ผิดปกติ มาแบบกระปริบ กระปรอย หรือมีอาการเลือดออกทางช่องคลอดออกมามากกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาทางสุขภาพหรือแสดงถึงภาวะที่ต้องระวัง คุณควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการประเมินและวินิจฉัยอาการเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียในระยะยาว
- เลือดออกทางช่องคลอด (Vaginal Bleeding)
- อาการเลือดออกทางช่องคลอด
- สาเหตุเลือดออกทางช่องคลอด
- ใครเสี่ยงมีเลือดออกทางช่องคลอดกระปิดกระปอย
- มีเลือดออกทางช่องคลอดแต่ไม่ใช่ประจำเดือน ควรพบแพทย์ไหม
- การวินิจฉัยภาวะเลือดออกทางช่องคลอด
- วิธีรักษาอาการเลือดออกทางช่องคลอด
- เลือดออกทางช่องคลอดกับภาวะมีบุตรยาก
- แนวทางการป้องกันเลือดออกทางช่องคลอด
- คำถามที่พบบ่อย
- ข้อสรุป
เลือดออกทางช่องคลอด (Vaginal Bleeding)
อาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดในผู้หญิง เป็นภาวะที่ร่างกายอาจจะมีอาการเลือดไหลออกจากช่องคลอดแบบกะปริบ กะปรอย เลือดที่ไหลออกมาในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน หรือเลือดที่ไหลออกมามากกว่าปกติในช่วงที่มีประจำเดือน หรือช่วงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนแล้ว รวมทั้งเลือดไหลออกมาออกมาขณะการตั้งครรภ์ อาการเหล่านี้แสดงถึงปัญหาทางด้านสุขภาพ ร่างกายที่มีความผิดปกติ และเป็นสัญญาณเตือนการเสี่ยงเป็นโรคร้ายได้
อาการเลือดออกทางช่องคลอด
เลือดออกทางช่องคลอด อาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดที่ไม่ใช่ลักษณะของการเป็นประจำเดือน ควรเริ่มสังเกตอาการที่ผิดปกติหรือลักษณะที่เกิดขึ้นในขณะที่มีอาการเหลือดไหลทางช่องคลอดว่ามีอาการเป็นอย่างไร มาเยอะหรือน้อยมากเท่าไหร่ ระยะเวลาที่มีเลือดออก รวมไปถึงอาการอื่นๆ หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและประเมินการรักษา เช่น
- มีอาการเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงวัยที่หมดประจำเดือนแล้ว
- มีเเลือดออกทางช่องคลอดจากรอบของประจำเดือนในปริมาณที่มาก
- ขณะมีประจำเดือนมาเยอะกว่าปกติเปลี่ยนผ้าอนามัยมากกว่า 4 แผ่น หรือประจำเดือนมามากกว่า 7 วันขึ้นไป
- มีอาการเวียนหัว หน้ามืด มีอาการอ่อนเพลีย
สาเหตุเลือดออกทางช่องคลอด
อาการเลือดออกทางช่องคลอดสามารถเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติทางร่างกาย ดังนี้
ระดับฮอร์โมนไม่ปกติ
เมื่อระดับฮอร์โมนฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ภายในร่างกาย มีความสมดุลที่ไม่ปกติส่งผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติ อาจมีเลือดออกทางช่องคลอด
ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์
เลือดออกทางช่องคลอดในภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการตั้งครรภ์เช่น อาการภาวะเกาะต่ำ มีภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก อาการแท้งจากการตั้งครรภ์ อาการท้องนอกมดลูก เป็นต้น
พบเนื้องอกในมดลูก
เมื่อพบเนื้องอกที่บริเวณมดลูก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่สามารถทำให้กลายเป็นเนื้อร้ายหรือทำให้เกิดมะเร็งได้ หรือขณะมีประจำเดือนจะมีอาการปวดหน่วง ๆ บริเวณท้องน้อยได้
ผลข้างเคียงจากมะเร็ง
อาการเลือดออกทางช่องคลอดเกิดได้จากผลข้างเคียงจากมะเร็ง เช่น การป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งช่องคลอด เป็นต้น
ติดเชื้อบริเวณอวัยวะสิบพันธุ์
อาการติดเชื้อบริเวณอัยวะสืบพันธุ์เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการเลือดออกทางช่องคลอดได้เช่นกัน เช่น โรคการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้ออุ้งเชิงกราน การติดเชื้อจากการสวนล้างช่องคลอด เป็นต้น
มดลูกมีปัญหา
- ติดเชื้ออักเสบของปากมดลูก
อาการอักเสบบริเวณปากมดลูกจุดต่อกับช่องคลอดของผู้หญิง มีอาการระคายเคือง หรือมีความไม่สมดุลของฮอร์โมนและแบคทีเรียในช่องคลอด เช่น อาการตกขาวผิดปกติ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
อาการเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เจริญเติบโตนอกเหนือจากภายในบริเวณโพรงมดลูก หรือเกิดการแทรกตัวในผนัง กล้ามเนื้อบริเวณมดลูก รวมไปถึงสามารถเติบโตตามอวัยวะต่างๆ ทั้งเยื่อบุบริเวณช่องท้อง รังไข่ เป็นต้น
- เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ
อาการเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในบริเวณเยื่อบุมดลูก เป็นการติดเชื้อที่อยู่ในบริเวณช่องคลอดหรือปากมดลูกที่เริ่มมีการลุกลามไปยังโพรงมดลูก หากเริ่มอักเสบรุนแรงอาจลุกลามไปถึง ท่อนำไข่ อุ้งเชิงกราน หรือกล้ามเนื้อมดลูก เป็นต้น
ใครเสี่ยงมีเลือดออกทางช่องคลอดกระปิดกระปอย
อาการเลือดออกทางช่องคลอดกระปริบกระปรอย ที่ไม่ใช่ประจำเดือน มาๆ หาย ๆ เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ซึ่งมีสาเหตุเกิดอาการ ดังนี้
- ฮอร์โมนที่มีความแปรปรวน เกิดได้เฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือ วัยรุ่นที่เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์
- ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวันเจริญพันธุ์ ไม่ได้มีการคุมกำเนิด แต่มีอาการแท้งบุตร
- ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาคุม หรือ ยาบำรุงเลือดลม
- มีภาวะรกเกาะต่ำ หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือด
- มีเนื้องอกที่บริเวณมดลูก
- อาการท้องนอกมดลูก
- ภาวะเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ฮอร์โมนแปรปรวน
มีเลือดออกทางช่องคลอดแต่ไม่ใช่ประจำเดือน ควรพบแพทย์ไหม
ในกรณีที่คุณมีเลือดออกทางช่องคลอดและไม่ใช่ประจำเดือน ซึ่งเป็นอาการที่ไม่ปกติและอาจเกิดจากสาเหตุ ดังนี้
- มีอาการเลือดออกที่ช่องคลอดในช่วงวัยที่หมดประจำเดือนแล้วหรือในวัยที่ยังไม่มีประจำเดือน
- มีเเลือดออกทางช่องคลอดจากรอบของประจำเดือนในปริมาณที่มาก หรือ หลังจากมีเพศสัมพันธุ์
- ขณะมีประจำเดือนมามากกว่าปกติเปลี่ยนผ้าอนามัยมากกว่า 4 แผ่น หรือประจำเดือนมามากกว่า 7 วันขึ้นไป
ควรพบแพทย์เพื่อประเมินและวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการเพื่อวางแผนการรักษาไม่ให้เกิดผลเสียในระยะยาว
การวินิจฉัยภาวะเลือดออกทางช่องคลอด
การวินิจฉัยภาวะเลือดออกทางช่องคลอดขึ้นอยู่กับอาการและประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย รวมถึงการทำการตรวจร่างกายเพื่อประเมินลักษณะอาการของผู้ป่วย รายละเอียดของการวินิจฉัยอาการเลือดออกทางช่องคลอดมี ดังนี้
1. การซักประวัติเบื้องต้น
แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับอาการเลือดออกทางช่องคลอด รวมถึงระยะเวลาที่เกิดอาการ ปริมาณเลือดที่ออก และลักษณะของเลือด (เช่น เลือดสด, เลือดสีดำ)
2. การตรวจการตั้งครรภ์
หากมีอาการเลือดออกทางช่องคลอดขณะกำลังตั้งครรภ์ สามรถพบได้ใช้ช่วงครึ่งแรกของการตั้งครรภ์ และครึ่งหลังการตั้งครรภ์ หากมีอาการดังกล่าวควรรีบเข้าพบเพื่อประเมินความเสี่ยงว่ามีโอกาสแท้งมากน้อยเพียงใด หรือ เป็นการตั้งครรภ์โดยไม่พบตัวอ่อน หรือ ที่เรียกกันอีกชื่อว่า ภาวะท้องลม เป็นต้น
3. การตรวจมะเร็งปากมดลูก
เป็นการตรวจเพื่อทำการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยทำการเก็บตัวอย่างเพื่อไปตรวจหาการติดเชื้อที่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และมะเร็งปากมดลูก
4. การตรวจเลือด
การเจาะเลือดเพื่อตรวจเช็คความผิดปกติของ ต่อมไทรอยด์ ไต และฮอร์โมนเพศหญิงว่าทำงานตามปกติดีหรือไม่ เพื่อประเมินอาการ
5. การตรวจเม็ดเลือด
การตรวจเม็ดเลือดเพื่อตรวจเช็คปริมาณและลักษณะของเม็ดเลือด ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ในกรณีที่มีเลือกออกมากเกินไปจนทำให้เกิดภาวะเลือดจาง
6. การตรวจอุ้งเชิงกราน
การตรวจอุ้งเชิงกรานหรือการตรวจภายในเพื่อตรวจเช็คความผิดปกติภายใน ได้แก่ ช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก ปีกมดลูก รังไข่ หรือเยื่อบุบริเวณรอบ ๆ เป็นต้น
7. การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
การส่องกล้องเพื่อตรวจโพรงมดลูกด้วยการใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ด ในการตรวจเช็คความผิดปกติแถวบริเวณมดลูกไปจนถึงบริเวณโพรงมดลูก ข้อดีในการใช้กล่องส่องในการตรวจคือทำได้ง่าย และปลอดภัย
วิธีรักษาอาการเลือดออกทางช่องคลอด
การรักษาอาการเลือดออกทางช่องคลอดขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของภาวะที่เกิดขึ้น มีวิธีรักษาดังต่อไป
1. การรักษาทั่วไป
หากภาวะเลือดออกทางช่องคลอดไม่รุนแรงมาก คุณสามารถดูแลและจัดการได้ที่บ้านโดยให้ผู้ป่วยพักผ่อนในท่าที่สบาย ควรรับประทานอาหารที่มีปริมาณเหลืองสูงและดื่มน้ำมาก เพื่อป้องกันการเกิดภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากขาดน้ำ
2. การรักษาด้วยยาปรับฮอร์โมน
อาการเลือดออกเกิดได้จากภาวะฮอร์โมนในร่างกายที่ไม่สมดุล หรือผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน แพทย์จะทำการประเมินและพิจารณาการจ่ายยาเพื่อทำการปรับความสมดุลของฮอร์โมนให้เหมาะสมตามลักษณะอาการ
3. การรักษาโดยการผ่าตัด
ในกรณีที่แพทย์ประเมินผลการตรวจแล้วว่าพบก้อนเนื้องอกในบริเวณมดลูกที่เห็นสาเหตุของอาการเลือกออกทางช่องคลอด แพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก
4. การรักษาที่ต้นเหตุโรค
หากเลือดออกทางช่องคลอดเกิดจากสาเหตุของโรคโดยตรง เช่น เนื้องอกมดลูก หรือเนื้องอกในรังไข่ การรักษาจะเน้นที่การจัดการจากต้นเหตุของโรคก่อน เช่น การใช้ยาสำหรับลดขนาดเนื้องอกหรือการตัดเนื้องอกออก หรือการผ่าตัด เป็นต้น
เลือดออกทางช่องคลอดกับภาวะมีบุตรยาก
เลือดออกทางช่องคลอดและภาวะมีบุตรยากอาจเกิดขึ้นพร้อมกันหรือเกี่ยวข้องกันได้ แต่ไม่ใช่ทุกกรณีที่เลือดออกทางช่องคลอดจะทำให้เกิดปัญหามีบุตรยาก สาเหตุอาการอาจมีหลายสาเหตุและมีความซับซ้อนที่แตกต่างกันไป เช่น มีประวัติเลือดออกผิดปกติ มีประวัติการตั้งครรภ์และมีภาวะแท้ง ความผิดปกติทางฮอร์โมนเพศ เป็นต้น ดังนั้นการวินิจฉัยและรักษาควรจะเป็นไปตามสาเหตุหากตรวจพบปัญหามีบุตรยาก สามารถปรึกษากับทางแพทย์เฉพาะทางเพื่อวางแผนการรักษาวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว ICSI หรือ การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก IUI โดยตรวจเพื่อเพิ่มโอกาสการมีบุตร
แนวทางการป้องกันเลือดออกทางช่องคลอด
แนวทางในการป้องกันภาวะเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีการดังนี้
- เมื่อเข้าพบแพทย์และไม่สามารถตรวจหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานยาคุมเพื่อปรับสมดุลของรอบเดือนให้ทำงานปกติ
- ผู้ป่วยจะได้รับประทานยาปรับฮอร์โมน เพื่อปรับความสมดุลของฮอร์โมน ทั้งนี้ต้องผ่านการประเมินจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วย
- การรักษาด้วยวิธีการขูดมดลูก ในกรณีที่ไม่สามารถใช้ยาในการรักษาได้ เพื่อควบคุมอาการเลือดออกทางช่องมากเกินไป หรือความผิดปกติของเยื่อบุมดลูก
- การผ่าตัดเอาเนื้องอกออก เพื่อควบคุมอาการเลือดออกทางช่องคลอด
คำถามที่พบบ่อย
เลือดออกทางช่องคลอดสีแดงสดไม่เจ็บ อันตรายไหม
เลือดออกทางช่องคลอดสีแดงสดโดยไม่มีอาการเจ็บอาจไม่ใช่สัญญาณของอันตรายในทันทีแต่ก็ควรตรวจสอบสาเหตุและปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวิธีการดูแลเพิ่มเติม เพราะหากเป็นเลือดสีดำคล้ำ อาจเกิดได้จากเลือดเก่าที่ตกค้าง แต่พอเป็นเลือดสีแดงอาจเกิดจากความผิดปกติบางอย่าง เช่นการฝังตัวของตัวอ่อนที่ไม่แข็งแรง เป็นต้น
เลือดออกทางช่องคลอดสีน้ำตาล ใช่เลือดล้างหน้าเด็กไหม
อาการที่มีเลือดออกทางช่องคลอดสามารถเป็นเลือดล้างหน้าเด็กได้เนื่องจาก สีของเลือดล้างหน้าเด็กจะมีสีตั้งแต่ชมพูอ่อนไปจนถึงสีสนิมหรือน้ำตาลเข้มถือว่าปกติ
ความเครียดมีส่วนให้เลือดออกทางช่องคลอดไหม
ภาวะความเครียด ร่างกายอ่อนเพลียจากการพักผ่อนน้อย เป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการเลือดออกทางช่องคลอดเพราะความเครียดเป็นต้นกำเนิดของการที่ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวนได้
ข้อสรุป
อาการเลือดออกทางช่องคลอดเป็นอาการที่ส่งสัญญาณว่ามีการผิดปกติภายในร่างกาย สาเหตุของเลือดออกทางช่องคลอดอาจมีหลายสาเหตุและอาจแสดงอาการที่มีความรุนแรงและความเสี่ยงที่ต่างกัน ดังนั้นการวินิจฉัยและรักษาควรจะเป็นไปตามสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องหากคุณพบว่ามีเลือดออกทางช่องคลอด แต่ไม่มีอาการเจ็บปวด ควรติดต่อแพทย์เพื่อการประเมินและการวินิจฉัยที่ถูกต้อง แพทย์จะทำการตรวจสอบประวัติการเจ็บป่วย การตรวจร่างกาย และอาจจะขอให้ทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด หรือการตรวจช่องคลอด เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line@ : @beyondivf